วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558

วรรณคดีสโมสร

ตราพระพิฆเนศ ตราสัญลักษณ์ของวรรณคดีสโมสร

วรรณคดีสโมสร
จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสร พ.ศ. ๒๔๕๗ เมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๕๗ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการแต่งหนังสือให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทย ได้สาระประโยชน์ เนื่องจากในยุคนั้นการแต่งหนังสือมักเลียนแบบการแต่งหนังสือภาษาต่างประเทศ ทำให้หลักไวยากรณ์ผิดเพี้ยนไป คำว่า "วรรณคดี" ก็ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกพร้อมกับพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ เพื่อให้มีความหมายสอดคล้องกับคำว่า "literature" ในภาษาอังกฤษโดยคัดเลือกหนังสือดีที่เป็นตัวอย่างชั้นเลิศในการประพันธ์ประเภทต่างๆ ซึ่งต้องเป็นหนังสือดีและแต่งดี วรรณคดีสโมสรจึงจะรับไว้พิจารณา 

หนังสือที่วรรณคดีสโมสรรับพิจารณาจัดไว้ทั้งสิ้น ๕ ประเภท ได้แก่
  • กวีนิพนธ์ คือ งานประพันธ์โคลง กลอน กาพย์ ฉันท์
  • ละครไทย คือ เนื้อเรื่องที่ประพันธ์เป็นกลอนแปด
  • นิทาน คือ เนื้อเรื่องที่ประพันธ์เป็นร้อยแก้ว
  • ละครพูด คือ เนื้อเรื่องที่เขียนขึ้นสำหรับแสดงบนเวที
  • ความอธิบาย คือ การแสดงศิลปะด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ที่ไม่ใช่แบบเรียน ตำรา หนังสือโบราณคดี หรือพงศาวดาร
ทั้งนี้วรรณคดีสโมสรนั้นได้ยุติบทบาทลงใน พ.ศ.๒๔๖๘ ถึงแม้ว่าต่อมาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพจะได้ทรงก่อตั้ง "สมาคมวรรณคดี" ขึ้นต่อมาก็ตาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น