วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558

ความหมายของวรรณคดี

วรรณคดี หมายถึง วรรณกรรมหรืองานเขียนที่ยกย่องกันว่าดี มีสาระ และมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ การใช้คำว่าวรรณคดีเพื่อประเมินค่าของวรรณกรรมเกิดขึ้นในพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสร วันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว


วรรณคดีเสภา เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ฉบับชำระ
ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

วรรณคดี เป็นวรรณกรรมที่ถูกยกย่องว่าเขียนดี มีคุณค่า สามารถทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์สะเทือนใจ มีความคิดเป็นแบบแผน ใช้ภาษาที่ไพเราะ เหมาะแก่การให้ประชาชนได้รับรู้ เพราะสามารถ ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น รู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควร อันว่าวรรณคดีนั้น เมื่อผู้อ่านได้อ่านแล้วทำให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้ง ตื่นเต้นดื่มด่ำ หนังสือเล่มใดอ่านแล้วมีอารมณ์เฉยๆ ไม่ซาบซึ้งตรึงใจและทำให้น่าเบื่อถือว่าไม่ใช่วรรณคดี หนังสือที่ทำให้เกิดความรู้สึกดื่มด่ำดังกล่าวนี้จะต้องเป็นความรู้สึกฝ่ายสูง คือทำให้เกิดอารมณ์ความนึกคิดในทางที่ดีงาม ไม่ชักจูงในทางที่ไม่ดี

วรรณคดีแบ่งเป็นสองประเภทดังนี้
๑.วรรณคดีมุขปาฐะ คือวรรณคดีที่ได้รับการเล่าขานกันมาปากต่อปาก โดยไม่ได้จดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ในที่นี้อาจหมายถึงนิทาน รวมไปจนถึงสำนวน สุภาษิต บทร้องเล่น เพลงพื้นบ้านด้วย
๒.วรรณคดีลายลักษณ์ คือวรรณคดีที่ได้รับการจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

การศึกษาวรรณคดีโดยวิเคราะห์ตามประเภทงานประพันธ์ สามารถแบ่งได้เป็นประเภทต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้

  • วรรณคดีคำสอน เช่น สุภาษิตพระร่วง โคลงโลกนิติ 
  • วรรณคดีศาสนา เช่น ไตรภูมิพระร่วง (เตภูมิกถา) ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก 
  • วรรณคดีนิทาน เช่น พระอภัยมณี 
  • วรรณคดีลิลิต เช่น ลิลิตพระลอ ลิลิตนิทราชาคริต ลิลิตเพชรมงกุฎ 
  • วรรณคดีนิราศ เช่น นิราศภูเขาทอง นิราศเมืองแกลง โคลงนิราศหริภุญชัย 
  • วรรณคดีเสภา เช่น เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน 
  • วรรณคดีบทละคร เช่น บทละครในเรื่องอิเหนา บทละครเรื่องสังข์ทอง บทละครเรื่องเงาะป่า 
  • วรรณคดีเพลงยาว เช่น เพลงยาวถวายโอวาท เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา 
  • วรรณคดีคำฉันท์ เช่น กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ พระนลคำฉันท์ อิลราชคำฉันท์ 
  • วรรณคดียอพระเกียรติ เช่น ลิลิตตะเลงพ่าย โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี 
  • วรรณคดีคำหลวง เช่น พระนลคำหลวง มหาชาติคำหลวง
  • วรรณคดีปลุกใจ เช่น บทละครพูดเรื่องหัวใจนักรบ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น